พืชผัก หมายถึง พืชที่สามารถนำส่วนใดส่วนหนึ่งของต้นมาประกอบอาหารทั้งผล ดอก ลำต้น ใบ ราก และหัว เป็นทั้งไม้ยืนต้น และไม่ล้มลุกที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศ และต่างประเทศ
ผักสามารถปลูกได้ในทุกครัวเรือน แต่ผักที่มีการปลูกเพื่อการจำหน่ายมักมาจากแปลงปลูกขนาดใหญ่ ส่วนมากพบในพื้นที่ภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณใกล้แหล่งน้ำ แม่น้ำ หรือพื้นที่ที่ชลประทานเข้าถึง
การส่งจำหน่ายผัก มักส่งจำหน่ายในพื้นที่ตัวเมืองของจังหวัด บางส่วนที่เป็นแปลงขนาดใหญ่มักมีพ่อค้าคนกลางเข้ารับถึงพื้นที่ เพื่อส่งจำหน่ายยังตัวเมืองในจังหวัดต่างๆ รวมถึงกรุงเทพฯ และภาคใต้ ซึ่งมีพื้นที่น้อยในการปลูกผัก
ชนิดพืชผัก
1. ผักสวนครัว เป็นกลุ่มของพืชผักล้มลุกที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น มักปลูกตามครัวเรือนหรือแปลงปลูกขนาดใหญ่เพื่อการค้า โดยมีการพัฒนาสายพันธุ์ให้มีผลผลิตตามต้องการ มักพบการผลิตเมล็ดพันธุ์ออกจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ ทั้งนี้ ไม่รวมพืชผักท้องถิ่นหรือผักป่า พืชสมุนไพร และเครื่องเทศ รวมถึงไม้ผลบางชนิด ที่ปัจจุบันอาจพบการพัฒนา และปลูกเพื่อการค้า
– ผักกาดขาว
– กะหล่ำปลี
– กะหล่ำดอก
– ผักชี
– ผักบุ้ง
– ผักคะน้า
– พริก
– กระเพรา
– โหระพา
– แมงลัก
– ผักกวางตุ้ง
– กระเทียม
– ผักหอม
– หอมหัวใหญ่
– หอมแดง
– แตงกวา
– ถั่วฝักยาว
– มะเขือ ได้แก่ มะเขือเปราะ มะเขือพวง มะเขือเทศ มะเขือเคื่อน
– หน่อไม้ฝรั่ง
– ฯลฯ
– ขิง
– พริกไท
– ดีปลี
– กระชาย
– ข่า
– ตะไคร้
– ขมิ้น
– ฯลฯ
– ผักหวานป่า
– หน่อไม้
– สะเดา
– ขี้เหล็ก
– แคป่า
– แคบ้าน
– กระถิน
– ผักโขมเล็ก ผักโขมหนาม
– ตำลึง
– ผักแพว
– ยอดเหลียง
– ใบเสี้ยว
– ผักกูด (ยอดเฟริน์)
– ผักขาเขียด
– ผักกระโดน
– เห็ดเผาะ เห็ดแดง เห็ดโคน และเห็ดป่าต่างๆ
– ฯลฯ
1. ประเภทกินใบ เช่น คะน้า ผักชี กะหล่ำปลี ผักกวางตุ้ง เป็นต้น
2. ประเภทกินดอก เช่น กะหล่ำดอก และดอกผักชนิดต่างๆ
3. ประเภทกินผลหรือฝัก เช่น พริก มะเขือ ฟัก แตงกวา ถั่วฝักยาว เป็นต้น
4. ประเภทกินหัวหรือราก เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ กระเทียม เป็นต้น
1. การเลือกพื้นที่
พื้นที่ที่สามารถปลูกผักได้ดีควรเป็นพื้นที่ที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำ เช่น บ่อน้ำขุด บ่อน้ำธรรมชาติ แม่น้ำ คลอง อ่างเก็บน้ำ คลองชลประทานหรือแนวส่งน้ำชลประทาน เนื่องจากพืชผักส่วนใหญ่มีความต้องการน้ำสูง โดยเฉพาะหน้าแล้งที่อากาศ แห้ง และอัตราการระเหยน้ำสูงกว่าฤดูอื่นๆ จึงจำเป็นต้องมีน้ำเพียงพอเพื่อให้ผักสามารถเติบโตจนถึงฤดูการเก็บเกี่ยวได้
– แปลงปลูกผักมักเตรียมด้วยการยกแปลงสูงประมาณ 20-30 เซนติเมตร หรือขุดรกร่องลึก เนื่องจากพืชผักส่วนมากมีระบบรากที่ต้องการซอนไซในดินที่ร่วนซุย หน้าดินลึก
– ทำการไถพรวนแปลงทิ้งไว้ประมาณ 1 อาทิตย์ เพื่อตากแดด และฆ่าเชื้อโรค
– หว่านปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก ร่วมด้วยปุ๋ยเคมี พร้อมไถกลบแปลง
– อัตราการใส่ปุ๋ยในแปลงควรให้มีปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกมากกว่าปุ๋ยเคมี เช่น 10:1 เนื่องจากการใส่ปุ๋ยเคมีมากจะทำให้ดินเป็นกรด หน้าดินแน่น
– เมล็ดพันธุ์ผักที่ใช้ควรมีลักษณะเป็นเมล็ดพันธุ์ใหม่ อายุเมล็ดพันธุ์ไม่ถึง 1 ปี
– เมล็ดพันธุ์ที่ใช้ต้องเป็นเมล็ดพันธุ์ที่ตรงตามชนิดพืชที่ปลูก และไม่มีเมล็ดพันธุ์อื่นปลอมปน
– ทำความสะอาดเมล็ดพันธุ์ รวมถึงคัดแยกเมล็ดพันธุ์ที่ไม่สมบูรณ์ออกด้วยวิธีนำไปแช่น้ำ และนำเมล็ดที่ลอยน้ำออก
– เมล็ดพันธุ์ส่วนมาก ก่อนปลูกจะทำการแช่น้ำเสียก่อน ซึ่งระยะเวลาในการแช่จะแตกต่างกันในแต่ละชนิดผัก หากเมล็ดพันธุ์ที่มีเปลือกหนา แข็ง อาจใช้เลาแช่นาน 2-3 วัน เมล็ดพันธุ์ผักส่วนมากเป็นเมล็ดที่มีเปลือกค่อนข้างบาง ไม่หนา แข็ง ส่วนใหญ่ใช้เวลาแช่ประมาณ 12 ชั่วโมง – 1 วัน เท่านั้น
สามารถปลูกได้หลายวิธีตามความเหมาะสมของแต่ละชนิดพืช ได้แก่
การหว่านเมล็ด เป็นวิธีที่ง่าย สะดวก รวดเร็ว และนิยมที่สุด ซึ่งจะหว่านเมล็ดหลังการแช่น้ำแล้วหรือหว่านเมล็ดแห้งได้ทันที ผักทีนิยมการหว่านเมล็ดมักเป็นพืชที่มีลำต้นขนาดเล็ก ขนาดทรงพุ่มน้อย ได้แก่ ผักชี ผักบุ้ง เป็นต้น ทั้งนี้ การหว่านเมล็ดอาจเป็นวิธีการเตรียมกล้าผักก่อนย้ายปลูกในแปลงที่เตรียมไว้
– ในระยะแรกของการปลูกช่วง 1 อาทิตย์แรก ทั้งการปลูกด้วยการใช้เมล็ด การปลูกด้วยต้นกล้า และปลูกด้วยการแยกหัวหรือหน่อ จำเป็นต้องมีการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น จนต้นกล้าตั้งตัวได้
– การให้น้ำจะยังให้วันละ 2 ครั้ง ตลอดจนถึงระยะเก็บเกี่ยว แต่อาจให้น้ำในปริมาณที่น้อยลง หรือผักบางชนิดที่อาจเว้นช่วงห่างการให้น้ำเมื่อถึงระยะก่อนเก็บเกี่ยว
– การใส่ปุ๋ยควรใส่ในระยะหลังปลูก 1-2 อาทิตย์ หรือระยะที่ต้นกล้าตั้งต้นได้แล้วจนถึงระยะก่อนการเก็บเกี่ยวประมาณ 1 เดือน รวมถึงพืชบางชนิดที่สิ้นสุดการให้ปุ๋ยที่ระยะก่อนการติดดอก และผล
พืชผักมักมีระยะการเก็บเกี่ยวไม่เกิน 120 วัน ส่วนมากจะใช้เวลาประมาณ 40-60 วัน ขึ้นกับชนิดของผัก โดยผักกินใบจะมีระยะเวลาการเก็บเกี่ยวสั้นกว่าผักกินดอก และผล
ผักสวนครัว 13 ชนิด ที่นำกลับมาปลูกเป็นอาหารได้อีก
– ผักกาดขาว
– กะหล่ำปลี
– กะหล่ำดอก
– ผักชี
– ผักบุ้ง
– ผักคะน้า
– พริก
– กระเพรา
– โหระพา
– แมงลัก
– ผักกวางตุ้ง
– กระเทียม
– ผักหอม
– หอมหัวใหญ่
– หอมแดง
– แตงกวา
– ถั่วฝักยาว
– มะเขือ ได้แก่ มะเขือเปราะ มะเขือพวง มะเขือเทศ มะเขือเคื่อน
– หน่อไม้ฝรั่ง
– ฯลฯ
– ขิง
– พริกไท
– ดีปลี
– กระชาย
– ข่า
– ตะไคร้
– ขมิ้น
– ฯลฯ
– ผักหวานป่า
– หน่อไม้
– สะเดา
– ขี้เหล็ก
– แคป่า
– แคบ้าน
– กระถิน
– ผักโขมเล็ก ผักโขมหนาม
– ตำลึง
– ผักแพว
– ยอดเหลียง
– ใบเสี้ยว
– ผักกูด (ยอดเฟริน์)
– ผักขาเขียด
– ผักกระโดน
– เห็ดเผาะ เห็ดแดง เห็ดโคน และเห็ดป่าต่างๆ
– ฯลฯ
1. ประเภทกินใบ เช่น คะน้า ผักชี กะหล่ำปลี ผักกวางตุ้ง เป็นต้น
2. ประเภทกินดอก เช่น กะหล่ำดอก และดอกผักชนิดต่างๆ
3. ประเภทกินผลหรือฝัก เช่น พริก มะเขือ ฟัก แตงกวา ถั่วฝักยาว เป็นต้น
4. ประเภทกินหัวหรือราก เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ กระเทียม เป็นต้น
1. การเลือกพื้นที่
พื้นที่ที่สามารถปลูกผักได้ดีควรเป็นพื้นที่ที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำ เช่น บ่อน้ำขุด บ่อน้ำธรรมชาติ แม่น้ำ คลอง อ่างเก็บน้ำ คลองชลประทานหรือแนวส่งน้ำชลประทาน เนื่องจากพืชผักส่วนใหญ่มีความต้องการน้ำสูง โดยเฉพาะหน้าแล้งที่อากาศ แห้ง และอัตราการระเหยน้ำสูงกว่าฤดูอื่นๆ จึงจำเป็นต้องมีน้ำเพียงพอเพื่อให้ผักสามารถเติบโตจนถึงฤดูการเก็บเกี่ยวได้
– แปลงปลูกผักมักเตรียมด้วยการยกแปลงสูงประมาณ 20-30 เซนติเมตร หรือขุดรกร่องลึก เนื่องจากพืชผักส่วนมากมีระบบรากที่ต้องการซอนไซในดินที่ร่วนซุย หน้าดินลึก
– ทำการไถพรวนแปลงทิ้งไว้ประมาณ 1 อาทิตย์ เพื่อตากแดด และฆ่าเชื้อโรค
– หว่านปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก ร่วมด้วยปุ๋ยเคมี พร้อมไถกลบแปลง
– อัตราการใส่ปุ๋ยในแปลงควรให้มีปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกมากกว่าปุ๋ยเคมี เช่น 10:1 เนื่องจากการใส่ปุ๋ยเคมีมากจะทำให้ดินเป็นกรด หน้าดินแน่น
– เมล็ดพันธุ์ผักที่ใช้ควรมีลักษณะเป็นเมล็ดพันธุ์ใหม่ อายุเมล็ดพันธุ์ไม่ถึง 1 ปี
– เมล็ดพันธุ์ที่ใช้ต้องเป็นเมล็ดพันธุ์ที่ตรงตามชนิดพืชที่ปลูก และไม่มีเมล็ดพันธุ์อื่นปลอมปน
– ทำความสะอาดเมล็ดพันธุ์ รวมถึงคัดแยกเมล็ดพันธุ์ที่ไม่สมบูรณ์ออกด้วยวิธีนำไปแช่น้ำ และนำเมล็ดที่ลอยน้ำออก
– เมล็ดพันธุ์ส่วนมาก ก่อนปลูกจะทำการแช่น้ำเสียก่อน ซึ่งระยะเวลาในการแช่จะแตกต่างกันในแต่ละชนิดผัก หากเมล็ดพันธุ์ที่มีเปลือกหนา แข็ง อาจใช้เลาแช่นาน 2-3 วัน เมล็ดพันธุ์ผักส่วนมากเป็นเมล็ดที่มีเปลือกค่อนข้างบาง ไม่หนา แข็ง ส่วนใหญ่ใช้เวลาแช่ประมาณ 12 ชั่วโมง – 1 วัน เท่านั้น
สามารถปลูกได้หลายวิธีตามความเหมาะสมของแต่ละชนิดพืช ได้แก่
การหว่านเมล็ด เป็นวิธีที่ง่าย สะดวก รวดเร็ว และนิยมที่สุด ซึ่งจะหว่านเมล็ดหลังการแช่น้ำแล้วหรือหว่านเมล็ดแห้งได้ทันที ผักทีนิยมการหว่านเมล็ดมักเป็นพืชที่มีลำต้นขนาดเล็ก ขนาดทรงพุ่มน้อย ได้แก่ ผักชี ผักบุ้ง เป็นต้น ทั้งนี้ การหว่านเมล็ดอาจเป็นวิธีการเตรียมกล้าผักก่อนย้ายปลูกในแปลงที่เตรียมไว้
– ในระยะแรกของการปลูกช่วง 1 อาทิตย์แรก ทั้งการปลูกด้วยการใช้เมล็ด การปลูกด้วยต้นกล้า และปลูกด้วยการแยกหัวหรือหน่อ จำเป็นต้องมีการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น จนต้นกล้าตั้งตัวได้
– การให้น้ำจะยังให้วันละ 2 ครั้ง ตลอดจนถึงระยะเก็บเกี่ยว แต่อาจให้น้ำในปริมาณที่น้อยลง หรือผักบางชนิดที่อาจเว้นช่วงห่างการให้น้ำเมื่อถึงระยะก่อนเก็บเกี่ยว
– การใส่ปุ๋ยควรใส่ในระยะหลังปลูก 1-2 อาทิตย์ หรือระยะที่ต้นกล้าตั้งต้นได้แล้วจนถึงระยะก่อนการเก็บเกี่ยวประมาณ 1 เดือน รวมถึงพืชบางชนิดที่สิ้นสุดการให้ปุ๋ยที่ระยะก่อนการติดดอก และผล
พืชผักมักมีระยะการเก็บเกี่ยวไม่เกิน 120 วัน ส่วนมากจะใช้เวลาประมาณ 40-60 วัน ขึ้นกับชนิดของผัก โดยผักกินใบจะมีระยะเวลาการเก็บเกี่ยวสั้นกว่าผักกินดอก และผล
ผักสวนครัว 13 ชนิด ที่นำกลับมาปลูกเป็นอาหารได้อีก
การปลูกผักสวนครัว | |||||||
| |||||||
|
| ||||||
|
2. ผักสมุนไพร และเครื่องเทศ เป็นกลุ่มของพืชผักที่สามารถใช้ทั้งในการประกอบอาหาร เพื่อให้อาหารมีสี รสชาติ กลิ่นตามต้องการ รวมถึงการเพิ่มสรรพคุณทางยาของอาหาร มักเป็นพืชที่ให้ กลิ่นแรง มีรสเผ็ดร้อน โดยส่วนมากจะใช้ส่วนผล หัว และรากมาใช้ประโยชน์ และเป็นพืชในท้องถิ่น
3. ผักพื้นบ้านหรือผักป่า เป็นกลุ่มของพืชผักที่ขึ้น และเติบโตได้เองตามธรรมชาติหรือนำมาปลูกในครัวเรือน มีการเก็บผลผลิตตามฤดูกาล มักเป็นพืชผักประจำท้องถิ่นที่เป็นทั้งไม้ยืนตัน และพืชล้มลุก
ผักสวนครัว
ผักสมุนไพร และเครื่องเทศ
ผักพื้นบ้านหรือผักป่า
พืชผัก แบ่งตามส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ คือ
ขั้นตอนการปลูก (ผักสวนครัว)
2. การเตรียมแปลง
3. การเตรียมเมล็ดพันธุ์
4. การปลูก
การปลูกด้วยต้นกล้า เป็นวิธีการปลูกด้วยต้นกล้าผักที่เตรียมได้จากแปลงเพาะกล้าด้วยวิธีการหว่าน วิธีนี้เป็นวิธีที่ใช้มากที่สุดสำหรับการปลูกผัก โดยมักใช้กับพืชที่มีลำต้นใหญ่ ทรงพุ่มกว้าง เนื่องจากใช้วิธีการหว่านเมล็ดอาจไม่เหมาะสมเพราะไม่สามารถเว้นช่วงห่างของต้นให้เหมาะสมกับการเติบโตได้ การหว่านอาจทำให้ต้นเจริญเติบโตไม่ดี หรืออาจต้องถอนต้นทิ้งบางส่วนซึ่งทำให้สิ้นเปลืองเมล็ดพันธุ์เสียเปล่า ผักที่นิยมปลูกด้วยวิธีนี้ ได้แก่ กะหล่ำปลี ผักกาดขาว คะน้า มะเขือ พริก เป็นต้น
การหยอดเมล็ด เป็นวิธีปลูกที่ใช้สำหรับพืชผักที่ต้องการระยะห่างระหว่างต้นมาก มักเป็นพืชที่เป็นเถาว์หรือเครือ ต้นกล้าออกไม่มีความแข็งแรง เหี่ยว และตายง่ายหากแยกต้นกล้าปลูก เช่น ถั่วฟักยาว แตงกวา ฟักทอง ฟัก มะระ เป็นต้น
ฝังในแปลงปลูก เป็นวิธีปลูกที่ใช้กับพืชผักบางชนิดที่มีการแยกหน่อ แยกเหง้าออกปลูกเพื่อขยายจำนวนต้นหรือกอ โดยฝังลงหลุมหรือแปลงปลูกได้ทันที เช่น ผักหอม กระเทียม ตะไคร้ ขิง ข่า กระชาย เป็นต้น
5. การดูแลรักษา
6. การเก็บผลผลิต
เวลาคุณๆ ไปจ่ายตลาด เลือกซื้อผักมาประกอบอาหารแต่ละครั้ง เคยคิดบ้างไหมว่า ถ้าเราปลูกผักทานเองได้ จะประหยัดค่าใช้จ่ายเรื่องอาหารไปได้เท่าไรต่อเดือน รวมทั้งหากเรารับประทานผักที่เราปลูกเอง ดูแลเอง จะทำให้เราได้รับประทานอาหารที่สด สะอาด ปราศจากสารพิษตกค้าง ซึ่งดีต่อสุขภาพ
Sanook! Home เลยอยากชักชวนและให้ไอเดียแก่คุณแม่บ้าน ด้วยการนำเศษเหลือจากการหั่นผักหลังใช้ประกอบอาหารแล้ว นำกลับมาปลูกใหม่อีกรอบ ซึ่งผักเหล่านี้โตเร็ว ไม่ต้องการการดูแลเอาใจใส่มากนัก ไปเลยค่ะ ออกไปจ่ายตลาด และเลือกผักกลับมาปลูกที่บ้านกัน
1.ผักกาดหอม หรือผักสลัด เป็นผักที่โตง่ายมาก หลังจากคุณเด็ดใบของมันใช้งานแล้ว สามารถนำโคนต้นไปแช่ในชามที่มีน้ำอยู่ก้นชาม แล้วนำชามนั้นไปตั้งไว้ในที่แสงแดดส่องถึง หลังจากนั้น 3-4 วัน คุณจะได้เห็นรากของมันเริ่มงอกออกมา หลังจากนั้นคุณก็นำผักกาดหอม หรือผักสลัดนั้นไปปลูกลงดิน
2.ผักคื่นฉ่าย เป็นผักประเภทหนึ่งที่เติบโตได้ดีจากเศษเหลือทิ้ง เพียงตัดท่อนปลายของลำต้นหลังจากการใช้งาน แล้ววางลงในชามที่บรรจุน้ำไว้เล็กน้อย จากนั้นนำชามไปวางไว้ในที่ๆ แสงแดดส่องถึงโดยตรง ประมาณ 1 สัปดาห์ผ่านไป คุณจะเริ่มเห็นใบอ่อนแทงยอดออกมาจากโคนต้น เมื่อเห็นใบอ่อนเริ่มแทงยอดออกมา คุณสามารถย้ายต้นคื่นฉ่ายนั้นลงดิน และดูแลให้มันโตขึ้นเรื่อยๆ
3.ตะไคร้ ถ้าคุณต้องทำอาหารที่มีตะไคร้เป็นวัตถุดิบประกอบบ่อยครั้ง แต่พอถึงเวลาจะใช้ก็ไม่ค่อยมี หากเป็นเช่นนั้นหลังจากคุณซื้อตะไคร้มาจากตลาดและใช้ประกอบอาหารแล้ว ให้เก็บท่อนล่างของลำต้นไว้แล้วนำไปแช่น้ำในแก้วทรงสูง ที่มีน้ำประมาณหนึ่ง เมื่อผ่านไปสักประมาณสัปดาห์ พอต้นตะไคร้มีรากงอก คุณก็นำต้นตะไคร้ไปปลูกลงดิน หรือในสวนผักของบ้านคุณ
4.ถั่วงอก ใครๆ ก็ทราบว่าเป็นผักที่ปลูกง่าย โตเร็ว เพียงแค่นำเมล็ดถั่วเขียวไปแช่น้ำ ทิ้งไว้ข้ามคืน วันรุ่งขึ้นเทน้ำออกจากภาชนะที่คุณนำเมล็ดถั่วไปแช่ จากนั้นนำเมล็ดถั่วเหล่านั้นไปใส่ไว้ในภาชนะที่ต้องการปลูก แล้วคลุมทับด้วยผ้าเช็ดตัวหมาดๆ เพื่อกักเก็บความชื้นให้มัน หลังจากนั้นเฝ้าดูการเจริญเติบโต และคอยสังเกตขนาดของลำต้นว่าใช้สำหรับทำอาหารที่คุณคิดเมนูเตรียมไว้ได้หรือยัง
5.มันฝรั่ง คุณแม่บ้านคงทราบว่า เราสามารถปลูกต้นมันฝรั่งได้จากการหั่นหัวมันฝรั่งที่มีตาไปเพาะลงในดิน ทิ้งไว้ประมาณสัก 2 สัปดาห์ คุณจะได้เห็นต้นอ่อนของมันฝรั่งค่อยๆ โตขึ้น
6.ขิง หลังจากซื้อขิงมาทำอาหารเรียบร้อยแล้ว บางครั้งเหลือเศษแห้งๆ ของแง่งขิงทิ้งไว้ ก็จะมีลำต้นอ่อนงอกออกมา เราสามารถนำเหง้าขิงชิ้นนั้นไปฝังหรือปลูกลงในดินได้เลย เพราะพอผ่านไปประมาณ 1 สัปดาห์ ต้นอ่อนก็จะค่อยๆ งอกขึ้นมาใหม่
7.สัปปะรด ผลไม้รสชาติดีที่เราปลูกทานเองได้ ไม่ต้องไปซื้อให้เสียดายสตางค์ ง่ายๆ ค่ะเพียงซื้อสัปปะรดจากตลาด โดยเลือกพันธุ์ดีๆ จากนั้นใช้มีดตัดจุกสัปปะรดออก แล้วนำหัวสัปปะรดไปแช่ในภาชนะบรรจุน้ำ ที่มีขนาดพอดีกับหัวสัปปะรด เพียงไม่กี่วัน รากของมันก็จะงอกออกมาจากส่วนที่เราตัด แล้วนำไปปลูกลงในดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย ดูแลสักประมาณ 1 เดือน รากจะเริ่มแข็งแรง จากนั้นคอยบำรุง ใส่ปุ๋ย เพียงเท่านี้ก็ได้สัปปะรดพันธุ์ดีกินสมใจ
8.กระเทียม เราสามารถปลูกกระเทียมได้จากกลีบของมัน เพียงแค่คุณนำกลีบกระเทียมนั้นไปเพาะให้มีรากเสียก่อน แล้วค่อยนำลงดิน โดยรากต้องอยู่ลึกลงไปในดินประมาณ 2 ใน 3 ส่วนของกลีบกระเทียม แล้วคลุมด้วยฟางเพื่อกำจัดวัชพืช แล้วหมั่นรดน้ำให้พอเพียง
9.หอมหัวใหญ่ เป็นผักอีกประเภทหนึ่งที่ปลูกง่าย โตเร็วทั้งกลางแจ้งและในร่ม เพียงตัดส่วนรากของหัวไปปักลงดิน รดน้ำสม่ำเสมอ รอให้รากงอกแล้วไปปักลงดินอีกครั้ง
10.ฟักทอง หลังใช้ฟักทองทำอาหารแล้ว ส่วนของเมล็ดฟักทอง ให้นำเมล็ดไปตากแดดให้แห้ง จากนั้นนำเมล็ดฟักทองไปหว่านลงบนดิน ที่มีแสงแดดรำไรส่องถึง รดน้ำ เพียงไม่กี่วันกล้าอ่อนของต้นฟักทองก็จะค่อยๆ งอกออกมา
11.ผักชี ผักที่ใช้ในการทำอาหารบ่อยครั้ง เราสามารถนำลำต้นของมันไปแช่น้ำ และยกภาชนะนั้นไปตั้งไว้บริเวณที่มีแสงแดด เมื่อรากเริ่มงอก เราก็สามารถนำผักชีนั้นไปลงกระถาง ผ่านไปประมาณ 2 สัปดาห์ จะได้เห็นต้นอ่อนของผักชีงอกออกมา
12.มะเขือเทศ คุณสามารถปลูกมะเขือเทศ โดยหว่านเมล็ดของมันไว้บริเวณไหนก็ได้ เมื่อต้นอ่อนของมันขึ้นมาก็สามารถนำกล้านั้นไปเพาะลงกระถาง เมื่อความสูงของกล้าประมาณ 2 นิ้ว ก็นำต้นออกมาไว้ด้านนอก หมั่นดูแล รดน้ำประมาณอาทิตย์ละ 2 ครั้ง เพียงไม่นานคุณก็จะได้มะเขือเทศผลงามๆ ไว้ทานสมใจ
13.พริก เราจะปลูกด้วยเมล็ดแก่ที่เก็บเอาไว้ แต่ต้องมีการเตรียมดินให้มีธาตุอาหารที่เพียงพอ หลังจากนั้นก็รองด้วยปุ๋ยหมักในก้นหลุมที่ปลูก ถ้าเป็นกระถางก็รองที่ก้นกระถางก่อนที่จะเอาดินที่มีธาตุอาหารมาใส่ในกระถาง จากนั้นรดให้ดินชุ่ม ก่อนขีดเส้นลงไปในดินเป็นเส้นตรงซักหนึ่งเส้น แล้วใส่เมล็ดลงเล็กน้อย จากนั้นเอาฟางคลุมและรดน้ำตามอีกครั้ง
การปลูกผักสวนครัว..เกษตรอินทรีย์..ปลูกเองกินเอง
ผักเป็นอาหารประจำวันของมนุษย์ เป็นแหล่งอาหารให้แร่ธาตุวิตามินที่มีคุณค่าทางอาหารสูงมีราคาถูก เมื่อเปรียบเทียบกับเนื้อสัตว์จากข้อมูลวิจัยกล่าวว่า มนุษย์เราควรบริโภคผักวันละประมาณ 200 กรัม เพื่อให้ร่างกายได้รับแร่ธาตุและวิตามินอย่างเพียงพอผลการวิจัยของศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักแห่งเอเชีย ชี้ให้เห็นว่าประชากรของประเทศไทยโดยเฉพาะสตรีมีครรภ์และพวกเด็กๆ มักขาดแคลนแร่ธาตุวิตามินกันมาก ประกอบกับปัญหาด้านเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบ ทำให้มีค่าครองชีพสูงขึ้น ดังนั้นกรมส่งเสริมการเกษตร จึงได้มีการรณรงค์ให้มีการปลูกผักสวนครัวไว้รับประทานเองในครอบครัว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีพืชผักเพียงพอแก่การบริโภคในครัวเรือน ทำให้ได้รับสารอาหารครบตามความต้องการของร่างกาย และช่วยลดภาวะค่าครองชีพ
การปลูกพืชสวนครัวนั้นไม่ยากเลย ถ้ามองไปรอบด้านภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นบ้านในเมืองใหญ่ เมืองหลวง หรือบ้านในหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ ล้วนละลานตาไปด้วย "บ้านไทย" ซึ่งไม่ต้องอาศัยเครื่องปรับอากาศ ไม่ต้องอาศัยเทคโนโลยีเหมือนทุกวันนี้ ซึ่งฝรั่งที่ตั้งใจมาเมืองไทยเพราะต้องการดู"บรรยากาศไทยๆ" ดังที่เคยเห็นในหนังสือ ตอนนี้เขบอกว่าบรรยากาศอย่างนี้ ต้องไปดู ที่ลาว ที่เขมรแทน เพราะเมืองไทยไม่ต่างจากเมืองเขาเท่าไหร่นัก บางแห่งดูจะยิ่งกว่า ด้วยซ้ำ ฝรั่ง คนนั้นจึงต้องกลับไปเที่ยว-นอนที่เขมร ลาวแทน เขาบอกว่าบ้านไทย ย้ายไปอยู่ ที่นั่น ด้วยเหตุนี้จึงเกิดความคิดว่า น่าจะบอกเล่าเรื่องนี้ให้เกษตรกรไทยฟัง ให้เขารื้อฟื้น ความเป็นไทยกลับขึ้นมาใหม่เพื่อเป็นทางออก พ้นจากความเป็นหนี้ นั่นคือเรื่อง "รั้วกินได้-สวนครัวทำเอง" ที่เราเคยพบเคยเห็นความเป็นมาแล้วในอดีตสมัย เด็กๆ เพื่อล้างและป้องกันนิสัยชอบไปซื้อกิน เอาอย่างความเจริญด้านวัตถุ คือแทนที่ จะปลูกเอง ทั้งๆ ที่มีที่ดินเพาะปลูกอยู่แล้ว กลับนิยมไปซื้อตามห้าง ศูนย์การค้า ฯลฯ ทำรั้วอัลลอยด์ รั้วเหล็ก รั้วปูน ฯลฯ แทนรั้วไม้ รั้วพืชยืนต้น พืชกินได้ ผักสวนครัว หรือพืชสวนครัว เช่น พริก กระเพรา โหระพา แมงลัก ตะไคร้ มะกรูด พริกไทย มะอึก มะนาว (กะปิ น้ำปลา น้ำตาล) รั้วกินได้เช่น ตำลึง ขจร โสน ถั่วพู มันปู กระถิน มะขามเทศ บวบ ฟักเขียว มะระ มะเขือเครือ ไผ่ น้ำเต้า ฟักข้าว ผักแป๋มการปลูกพืชสวนครัวเหล่านี้ คือแนวทางประกอบการพิจารณาเลือกปลูกพืชผสม พืชหลายชนิดใช้ทำประโยชน์ได้มากกว่าหนึ่งอย่างหรือเอนกประสงค์ หากเลือกปลูกพืชผสมหลายอย่างในพื้นที่เดียวกันต้องอาศัยคำแนะนำทางวิชาการ และประสบการณ์ หรือภูมิปัญญาชาวบ้าน เพราะพืชบางชนิดจะปลูกร่วมกันได้ บางชนิดไม่ได้ การประกอบอาชีพแบบเศรษฐกิจพอเพียง ปลูกผักสวนครัวลดรายจ่ายด้านอาหารในครอบครัว เศรษฐกิจพอเพียงเป็นกาดำเนินชีวิตทางสายกลาง ยึดหลักการพึ่งพาตนเองการเกษตรดั้งเดิมของไทย ที่ปฏิบัติกันมานานชั่วลูกหลาน ก็คือ การเกษตรธรรมชาติ การเกษตรอินทรีย์ การเกษตรชีวภาพ การวนเกษตร ซึ่งอ่านดูชื่อแล้วเราอาจจะไม่คุ้นเคย หรือไม่เข้าใจ จึงขอสรุปให้ทราบว่า เป็นการเกษตรแบบโบราณเรานั่นเอง คือ ใช้แรงงานจากคน จากสัตว์เลี้ยง ปุ๋ยที่ได้ก็เกิดจากมูลสัตว์ ใบไม้ใบตองนำมากองสุมหมักไว้เมื่อเน่าเปื่อยก็นำไปใส่ต้นไม้ หรือไร่นา ส่วนพืชที่ปลูกก็คือ พืชที่เป็นอาหารประจำวัน เช่น ข้าว ข้าวโพด ถั่ว งา การปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้
ข้อดีของการปลูกผักสวนครัว
ผักเป็นอาหารประจำวันของมนุษย์ เป็นแหล่งอาหารให้แร่ธาตุวิตามินที่มีคุณค่าทางอาหารสูง มีราคาถูกเมื่อเปรียบเทียบกับเนื้อสัตว์จากข้อมูลวิจัยกล่าวว่า มนุษย์เราควรบริโภคผักวันละประมาณ 200 กรัม เพื่อให้ร่างกายได้รับแร่ธาตุและวิตามินอย่างเพียงพอ
ผลการวิจัยของศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักแห่งเอเซีย ชี้ให้เห็นว่าประชากรของประเทศไทย โดยเฉพาะสตรีมีครรภ์และพวกเด็ก ๆ มักขาดแคลนแร่ธาตุวิตามินกันมาก ประกอบกับปัญหาด้านเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบทำให้มีค่าครองชีพสูงชึ้น ดังนั้นกรมส่งเสริมการเกษตรจึงได้มีการรณรงค์ให้มีการปลูกผักสวนครัวไว้รับประทานเองในครอบครัว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีพืชผักเพียงพอแก่การบริโภคในครัวเรือน ทำให้ได้รับสารอาหารครบตามความต้องการของร่างกายและช่วยลดภาวะค่าครองชีพ
การเลือกสถานที่ปลูก
1. การเลือกสถานที่หรือทำเลปลูก ควรเลือกพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุด
อยู่ใกล้แหล่งน้ำและไม่ไกลจากที่พักอาศัยมากนักเพื่อความสะดวกในการ
ปฏิบัติงานด้านการปลูก การดูแลรักษาและสะดวกในการเก็บมาประกอบอาหารได้ทันทีตามความต้องการ
2. การเลือกประเภทผักสำหรับปลูก ชนิดของผักที่จะปลูกควรคำนึงถึงการใช้เนื้อที่ให้ได้ประโยชน์มากที่สุด โดยการปลูกผักมากชนิดที่สุดเพื่อจะได้มีผัก
ไว้บริโภคหลายๆ อย่าง ควรเลือกชนิดของผักที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและปลูกให้ตรงกับฤดูกาล ทั้งนี้ควรพิจารณาเปอร์เซ็นต์ความงอกของเมล็ดพันธุ์
วันเสื่อมอายุ ปริมาณหรือน้ำหนัก โดยดูจากสลากข้างกระป๋องหรือซองที่บรรจุเมล็ดพันธุ์ ซึ่งจะทำให้ทราบว่าเมล็ดพันธุ์นั้นใหม่หรือเสื่อมความงอกแล้ว เวลา วันที่ผลิตถึงวันที่จะซื้อ ถ้ายิ่งนานคุณภาพเมล็ดพันธุ์จะลดลง
ขั้นตอนการปลูก 2 ขั้นตอน ดังนี้
1.การปลูกผักในแปลงปลูก
2.การปูุกผักในภาชนะ
การปลูกผักในแปลงปลูก
การปลูกผักในแปลงปลูก มีขั้นตอน คือ
1.1 การพรวนดิน ใช้จอบขุดดินลึกประมาณ 6 นิ้ว เพื่อพรวนดินให้มีโครงสร้างดีขึ้น กำจัดวัชพืชในดินกำจัดไข่แมลงหรือโรคพืชที่อยู่ในดิน โดยการพรวนดินตากทิ้งไว้ประมาณ 7-15 วัน
1.2 การยกแปลง ใช้จอบพรวนยกแปลงสูงประมาณ 4-5 นิ้ว จากผิวดิน โดยมีความกว้างประมาณ 1-1.20 เมตร ส่วนความยาวควรเป็นตามลักษณะของพื้นที่หรืออาจแบ่งเป็นแปลงย่อยๆ ตามความเหมาะสม ความยาวของแปลงนั้นควรอยู่ในแนวทิศเหนือ-ใต้ ทั้งนี้เพื่อให้ผักได้รับแสงแดดทั่วทั้งแปลง
1.3 การปรับปรุงเนื้อดิน เนื้อดินที่ปลูกผักควรเป็นดินร่วนแต่สภาพดินเดิมนั้นอาจจะเป็นดินทรายหรือดินเหนียว จำเป็นต้องปรับปรุงให้เนื้อดินดีขึ้นโดยการใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก อัตราประมาณ 2-3 กิโลกรัม ต่อเนื้อที่ 1 ตารางเมตร คลุกเคล้าให้เข้ากัน
1.4 การกำหนดหลุมปลูก จะกำหนดภายหลังจากเลือกชนิดผักต่าง ๆ แล้วเพราะว่าผักแต่ละชนิดจะใช้ระยะปลูกที่แตกต่างกัน เช่น พริก ควรใช้ระยะ 75 x 100 เซนติเมตร ผักบุ้งจะเป็น 5 x 5 เซนติเมตร เป็นต้น
การปลูกผักในภาชนะ
การปลูกผักในภาชนะควรจะพิจารณาถึงการหยั่งรากของพืชผักชนิดนั้นๆ พืชผักที่หยั่งรากตื้นสามารถปลูกได้ดีในภาชนะปลูกชนิดต่างๆ และภาชนะชนิดห้อยแขวนที่มีความลึกไม่เกิน 10 เซนติเมตร คือผักบุ้งจีน คะน้าจีน ผักกาดกวางตุ้ง (เขียวและขาว) ผักกาดฮ่องเต้ ผักกาดหอม ผักกาดขาวชนิดไม่ห่อ (ขาวเล็ก ขาวใหญ่) ตั้งโอ๋ ปวยเล้ง หอมแบ่ง (ต้นหอม) ผักชี ขึ้นฉ่าย ผักโขมจีน กระเทียมใบ (Leek) กุยช่าย กระเทียมหัว ผักชีฝรั่ง บัวบก สะระแหน่ แมงลัก โหระพา (เพาะเมล็ด) กะเพรา (เพาะเมล็ด) พริกขี้หนู ตะไคร้ ชะพลู หอมแดง หอมหัวใหญ่ หัวผักกาดแดง (แรดิช)
วัสดุที่สามารถนำมาทำเป็นภาชนะปลูกอาจดัดแปลงจากสิ่งที่ใช้แล้ว เช่น ยางรถยนต์เก่า กะละมัง ปลอกซีเมนต์ เป็นต้น สำหรับภาชนะแขวนอาจใช้ กาบมะพร้าว กระถาง หรือเปลือกไม้การเก็บเกี่ยวผักควรเก็บในเวลาเช้าจะทำให้ได้ผักสดรสดี และหากยังไม่ได้ใช้ให้ล้างให้สะอาด และนำเก็บไว้ในตู้เย็น สำหรับผักประเภทผลควรเก็บในขณะที่ผลไม่แก่จัดจะได้ผลที่มีรสดีและจะทำให้ผลดก หากปล่อยให้ผลแก่คาต้น ต่อไปจะออกผลน้อยลง สำหรับในผักใบหลายชนิด เช่น หอมแบ่ง ผักบุ้งจีน คะน้า กะหล่ำปี การแบ่งเก็บผักที่สดอ่อนหรือโตได้ขนาดแล้ว โดยยังคงเหลือลำต้นและรากไว้ไม่ถอนออกทั้งต้น รากหรือต้นที่เหลืออยู่จะสามารถงอกงาม ให้ผลได้อีกหลายครั้ง ทั้งนี้จะต้องมีการดูแลรักษาให้น้ำและปุ๋ยอยู่ การปลูกพืชหมุนเวียนสลับชนิดหรือปลูผักหลายชนิดในแปลงเดียวกัน และปลูกผักที่มีอายุเก็บเกี่ยวสั้นบ้างยาวบ้างคละกันในแปลงเดียวกัน หรือปลูกผักชนิดเดียวกันแต่ทยอยปลูกครั้งละ 3-5 ต้น หรือประมาณว่าพอรับประทานได้ในครอบครัวในแต่ละครั้งที่เก็บเกี่ยว ก็จะทำให้ผู้ปลูกมีผักสดเก็บรับประทานได้ทุกวันตลอดปี
ผลผลิตที่ได้
การเก็บเกี่ยวผักควรเก็บในเวลาเช้าจะทำให้ได้ผักสดรสดี และหากยังไม่ได้ใช้ให้ล้างให้สะอาด และนำเก็บไว้ในตู้เย็น สำหรับผักประเภทผลควรเก็บในขณะที่ผลไม่แก่จัดจะได้ผลที่มีรสดีและจะทำให้ผลดก หากปล่อยให้ผลแก่คาต้น ต่อไปจะออกผลน้อยลง สำหรับในผักใบหลายชนิด เช่น หอมแบ่ง ผักบุ้งจีน คะน้า กะหล่ำปี การแบ่งเก็บผักที่สดอ่อนหรือโตได้ขนาดแล้ว โดยยังคงเหลือลำต้นและรากไว้ไม่ถอนออกทั้งต้น รากหรือต้นที่เหลืออยู่จะสามารถงอกงาม ให้ผลได้อีกหลายครั้ง ทั้งนี้จะต้องมีการดูแลรักษาให้น้ำและปุ๋ยอยู่ การปลูกพืชหมุนเวียนสลับชนิดหรือปลูกผักหลายชนิดในแปลงเดียวกัน และปลูกผักที่มีอายุเก็บเกี่ยวสั้นบ้างยาวบ้างคละกันในแปลงเดียวกัน หรือปลูกผักชนิดเดียวกันแต่ทยอยปลูกครั้งละ 3-5 ต้น หรือประมาณว่าพอรับประทานได้ในครอบครัวในแต่ละครั้งที่เก็บเกี่ยว ก็จะทำให้ผู้ปลูกมีผักสดเก็บรับประทานได้ทุกวันตลอดปี
เยี่ยมมากๆคะ
ตอบลบ