วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ประเด็นที่ต้องการสืบค้นด้วยตนเอง

                                  ใบงานที่ 7 

ให้นิสิตกำหนดประเด็นที่ต้องการสืบค้นด้วยตนเอง จากนั้นทำตามขั้นตอน ดังนี้ 


ขั้นตอนที่ 1 ประเด็น คือ เที่ยวภูทับเบิก จังหวัดเพชรบูรณ์
ขั้นตอนที่ 2 การวิเคาะห์ปัญหา คือ มีความต้องการไปเที่ยวภุทับเบิกในช่วงฤดูหนาว
ขั้นตอนที่ 3 คิดแยก Keyword ออกจากโจทย์ คือ ไปเที่ยวภูทับเบิกที่จังหวัดเพชรบูรณ์
ขั้นตอนที่ 4 แปลง Key word ให้เป็นภาษาที่ใช้ในการสืบค้น คือ เที่ยว ภูทับเบิก เพชรบูรณ์ ช่วงฤดูหนาว
ขั้นตอนที่ 5 เทคนิคที่ใช้ในการสืบค้น คือ 1. การค้นหาแบบพื้นฐาน (Basic Search) เป็นการค้นหาสารสนเทศอย่างง่ายๆ ไม่ซับซ้อน โดยใช้คำโดดๆ หรือผสมเพียง 1 คำ ในการสืบค้นข้อมูล โดยส่วนใหญ่การค้นหาแบบง่ายจะมีทางเลือกในการค้นหา ได้แก่

              1.1  ชื่อผู้แต่ง (Author) เป็นการค้นหาโดยใช้ชื่อของบุคคล กลุ่มบุคคล นามปากกา หรือชื่อหน่วยงาน/องค์กร ที่เป็นผู้แต่งหรือเขียนหนังสือ บทความ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ หรือทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆ ซึ่งมีหลักการค้นหาง่ายๆ ดังนี้
                     1.1.1 ผู้แต่งคนไทย เป็นการค้นหาชื่อบุคคล ตัวอย่างเช่น กุลธิดา  ท้วมสุข ให้ตัดคำนำหน้าชื่อออก เช่น นาย นาง นางสาว หรือหากเป็นบุคคลที่มีบรรดาศักดิ์หรือฐานันดรศักดิ์ ให้ค้นด้วยชื่อ และต่อท้ายด้วยบรรดาศักดิ์หรือฐานันดรศักดิ์ หากเป็นการค้นหาชื่อที่เป็น นามปากกา ฉายาหรือสมณศักดิ์ ให้ค้นหาตามนามปากกา ฉายา หรือสมณศักดิ์
                     1.1.3 ผู้แต่งที่เป็นหน่วยงาน/องค์กร ให้ค้นหาตามชื่อหน่วยงานหรือชื่อองค์กรนั้น เช่น การค้นหาชื่อหน่วยงานที่มีทั้งหน่วยงานใหญ่และหน่วยงานย่อย ให้ค้นหาโดยใช้ชื่อหน่วยงานใหญ่ก่อน แล้วตามด้วยชื่อหน่วยงานย่อย หากเป็นชื่อย่อ เมื่อค้นหาให้ใช้ชื่อเต็ม
              1.2  ชื่อเรื่อง (Title) เป็นการค้นหาข้อมูล ด้วยชื่อเรื่อง เช่น ชื่อหนังสือ ชื่อบทความ ชื่อเรื่องสั้น นวนิยาย ชื่องานวิจัย หรือวิทยานิพนธ์ การค้นโดยใช้ชื่อเรื่องนี้ เป็นการค้นหาแบบเจาะจง ดังนั้นผู้ค้น ต้องรู้จักชื่อเรื่อง หลักการค้นหาด้วยชื่อเรื่องทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ใช้หลักการเดียวกัน คือ ค้นหาตามชื่อนั้นๆ ได้เลย โดยระบบจะทำการค้นหาจากชื่อเรื่อง เริ่มจากอักษรตัวแรกและตัวถัดไปตามลำดับ
              1.3 หัวเรื่อง (Subject Heading) คือ คำหรือวลีที่กำหนดขึ้นมา เพื่อใช้แทนเนื้อหาของหนังสือ บทความ งานวิจัย วิทยานิพนธ์หรือทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆ 
              หัวเรื่องที่ใช้ในการค้นหานั้น มาจากที่ไหนใครเป็นผู้กำหนดขึ้น? โดยปกติแล้วคำหรือวลีที่กำหนดให้เป็นหัวเรื่อง จะนำมาจากคู่มือหัวเรื่องที่ใช้กันเป็นมาตรฐานในห้องสมุดหรือหน่วยงานที่ให้บริการสารสนเทศ ทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศ (โอย...เรื่องมันย๊าววว...ยาว...) ว่างๆ จะเล่าให้ฟังเกี่ยวกับหลักการให้หัวเรื่องต่อไป...เพื่อจะได้ค้นเก่งๆ  
              แต่ตอนนี้..เอาเป็นว่า ง่ายๆ สั้นๆ  ให้นึกถึง หัวเรื่องใหญ่และเรื่องย่อยเอาไว้ เช่น หัวเรื่องที่ต้องการค้นหา คือ คณิตศาสตร์ นี่คือหัวเรื่องใหญ่ ภายใต้หัวเรื่องใหญ่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ จะมีเรื่องย่อยๆ ซ่อนอยู่เช่น การบวก การลบ การคูณ การหาร เป็นต้น 
              1.4 คำสำคัญ (Keywords) คือ การค้นหาด้วยคำหรือวลีที่กำหนดขึ้นมา เพื่อใช้แทนเรื่องที่ต้องการค้นหา โดยทั่วไปคำสำคัญจะมีลักษณะที่สั้น กระทัดรัด ได้ใจความ มีความหมาย เป็นคำนามหรือเป็นศัพท์เฉพาะในแต่ละสาขาวิชา 
              จะกำหนดคำสำคัญอย่างไร? ง่ายๆ คือ กำหนดมาจากคำที่อยู่ในชื่อเรื่องและหัวเรื่องที่เราต้องการค้นหานั่นเอง 
              การค้นหาด้วยคำสำคัญนั้น ระบบจะทำการค้นหาคำที่ปรากฏอยู่ในชื่อเรื่อง ไม่ว่าจะอยู่ต้นเรื่อง กลางเรื่องหรือท้ายเรื่อง
         
          2. การค้นหาแบบขั้นสูง (Advanced Search) เป็นการค้นหาที่ซับซ้อนมากกว่าแบบพื้นฐาน ซึ่งมีเทคนิคหรือรูปแบบการค้นที่จะช่วยให้ผู้ค้นสามารถจำกัดขอบเขตการค้นหาหรือค้นแบบเจาะจงได้มากขึ้น เพื่อให้สามารถค้นหาข้อมูลได้ที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด 
             2.1 การสืบค้นข้อมูล โดยใช้ตรรกบูลีน (Boolean Logic) หรือการค้นหาโดยใช้ Operator เป็นการค้นหา โดยใช้คำเชื่อม 3 ตัว คือ AND, OR, NOT ดังนี้
                  - AND ใช้เชื่อมคำค้น เพื่อจำกัดขอบเขตการค้นหาให้แคบลง เช่นต้องการค้นหาคำว่าสัมตำที่เป็นอาหาร มีรูปแบบการค้นดังนี้  คือ    ส้มตำ AND อาหาร หมายถึง ต้องการค้นหาคำว่า ส้มตำ และคำว่า อาหาร 
                  - OR ใช้เชื่อมคำค้น เพื่อขยายขอบเขตให้กว้างขึ้น เช่น สัมตำไทย OR ส้มตำปูปลาร้า (โอย..น้ำยาย..ไหยยยย..แซ๊บ..แซบ..เด้อ) หมายถึง ต้องการค้นหาคำว่า สัมตำไทย และ ส้มตำปูปลาร้า หรือค้นหาคำใดคำหนึ่งก็ได้ 
                  - NOT ใช้เชื่อมคำค้น เพื่อจำกัดขอบเขตให้แคบลง เช่น ต้องการค้นหาคำว่า ส้มตำ AND อาหาร NOT เพลง หมายถึง ต้องการค้นหา คำว่า ส้มตำ ที่เป็นอาหาร ไม่เอาส้มตำที่เป็นเพลง เป็นต้น 
             2.2 เทคนิคการตัดคำ (Truncation) 
             2.3 เทคนิคการจำกัดคำค้น (Limit Search) หรือการใช้
ขั้นตอนที่ 6 สร้างรูปแบบและวิธีการในการสืบค้น คือ รูปแบบการสืบค้น เสิร์ชเอนจิน (search engine) หรือ โปรแกรมค้นหาและคือ โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต โดยครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่โปรแกรมหรือผู้ให้บริการแต่ละราย เสิร์ชเอนจินส่วนใหญ่จะค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญ (คีย์เวิร์ด) ที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไป จากนั้นก็จะแสดงรายการผลลัพธ์ที่มันคิดว่าผู้ใช้น่าจะต้องการขึ้นมา ในปัจจุบัน เสิร์ชเอนจินบางตัว เช่น กูเกิลจะบันทึกประวัติการค้นหาและการเลือกผลลัพธ์ของผู้ใช้ไว้ด้วย และจะนำประวัติที่บันทึกไว้นั้น มาช่วยกรองผลลัพธ์ในการค้นหาครั้งต่อ ๆ ไป         
หลักการใช้คำ, สัญลักษณ์, เครื่องหมาย ในการสืบค้นข้อมูล เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำ
การค้นหาโดยทั่วไปส่วนใหญ่แล้วจะใช้ Keyword เป็นเครื่องมือในการน าทางการค้นหา อย่างเดียว แต่ถ้าผู้ใช้รู้จักใช้เครื่องหมายบางตัวร่วมด้วย ก็จะทำให้ขอบเขตการค้นหา ของ Google แคบลง ทำให้ผู้ใช้ได้ข้อมูลที่ตรงกับความต้องการมากขึ้น เครื่องหมายที่ สามารถนำมาช่วยในการค้นหาได้ มีดังนี้ 
การใช้เครื่องหมายบวก (+) เชื่อมคำ   โดยปกติ Google จะไม่ใส่ใจในในการค้นหาข้อมูลจากการพิมพ์ Keyword ประเภท Common Word( คำง่ายๆ ) เช่น at, with, on, what, when, where, how, the, to, of แต่เนื่องจากเป็นบางครั้งคำเหล่านี้เป็นคำสำคัญของประโยคที่ผู้ใช้จำเป็น ต้องค้นหา ดังนั้นเครื่องหมาย + จะช่วยเชื่อมคำ โดยมีเงื่อนไข ว่า ก่อนหน้าเครื่องหมาย + ต้องมี การเว้นวรรค 1 เคาะด้วย เช่น หากต้องการค้นหาเว็บไซต์เกี่ยวกับเกมส์ที่มีชื่อว่า Age of Empire ถ้าผู้ใช้พิมพ์ Keyword Age of Empire Google ก็จะทำการค้นหาแยกคำโดย ไม่สนใจคำว่า of และจะค้นหาคำว่า Age หรือ Empire เพียงสองคำ แต่ถ้าผู้ใช้ระบุว่า Age +of Empire Google จะทำการค้นหาทั้งคำว่า Age, of และ Empire
ตัดบางคำที่ไม่ต้องการค้นหาด้วยเครื่องหมายลบ ( - )  จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถตัดเรื่องที่ผู้ใช้ไม่ต้องการ หรือไม่เกี่ยวข้องออกไปได้ เช่น ถ้าผู้ใช้ ต้องการค้นหาเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับการ ล่องแก่ง แต่ไม่ต้องการ การล่องแก่งที่เกี่ยวข้อง กับจังหวัดตาก ให้ผู้ใช้พิมพ์ Keyword ว่า ล่องแก่ง -ตาก (เช่นเดียวกับเครื่องหมาย + ต้องเว้นวรรคก่อนหน้าเครื่องหมายด้วย) Google จะทำการค้นหาเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับการ ล่องแก่ง แต่ไม่มีจังหวัดตากเข้ามาเกี่ยวข้อง
การค้นหาด้วยเครื่องหมายคำพูด ("...")  เหมาะสำหรับการค้นหาคำ Keyword ที่มีลักษณะเป็น ประโยควลีหรือกลุ่มคำ ที่ผู้ใช้ ต้องการให้แสดงผลทุกคำในประโยค โดยไม่แยกคำ เช่น ถ้าผู้ใช้ต้องการหาเว็บไซต์ เกี่ยวกับเพลงที่มีชื่อว่า If I Let You Go ให้พิมพ์ว่า " If I Let You Go" Google จะทำการค้นหาประโยค " If I Let You Go" ทั้งประโยคโดยไม่แยกคำค้นหา
ไม่ต้องใช้คำว่า " AND" ในการแยกคำค้นหา  แต่เดิมการใช้ Keyword ที่มากกว่า 1 คำในการค้นหาเว็บไซต์แบบแยกคำ ผู้ใช้ จำเป็นต้องใช้ AND ในการแยกคำเหล่านั้น ปัจจุบันไม่ต้องใช้ AND แล้ว เพราะ Google จะทำการแยกคำให้โดยอัตโนมัติเมื่อผู้ใช้ทำการเว้นวรรคคำเหล่านั้น เช่น ถ้า ผู้ใช้พิมพ์คำว่า Thai Travel Nature เมื่อคลิกปุ่มค้นหา ก็จะพบว่าในรายชื่อหรือ เนื้อหาของเว็บที่ปรากฏจะมีคำว่า Thai ,Travel และ Nature อยู่ในนั้นด้วย
การค้นหาด้วยคำว่า OR  เป็นการสั่งให้ Google ค้นหาข้อมูลเพิ่มมากขึ้น เช่น ถ้าผู้ใช้ต้องการค้นหาเว็บไซต์ที่ เกี่ยวกับ การล่องแก่ง ทั้งในจังหวัดตาก และปราจีนบุรี ให้ผู้ใช้พิมพ์ Keyword ว่า ล่อง แก่ง ตาก OR ปราจีนบุรี Google จะทำการค้นหาเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับการล่องแก่งทั้งใน จังหวัดตาก และกาญจนบุรี  
Google จะไม่ใส่ใจใน Common Word  คำศัพท์พื้นๆ อย่าง the, where, is, how, a, to และอื่นๆ รวมทั้งตัวเลขและตัวอักษร เดี่ยวๆ Google มักไม่ให้ความสำคัญและใส่ใจที่จะค้นหาครับ เนื่องจากเครื่องมือที่ Google ใช้จัดเก็บและรวบรวมเว็บทั่วโลกจะค่อนข้างเสียเวลาในการเก็บรวบรวมเว็บที่มี คำเหล่านี้ (ซึ่งมีเยอะมากๆ) แต่ถ้าหากจำเป็น ผู้ใช้จะต้องใช้เครื่องหมาย " + " ในการ เชื่อมคำเหล่านี้ด้วย หรืออีกทางก็คือผู้ใช้อาจจะระบุคำที่ต้องค้นหาทั้งหมดในรูป ของวลีภายใต้เครื่องหมาย " ……. "  
ขั้นตอนที่ 7 การคัดกรองผลการสืบค้น คือ เที่ยว ภูทับเบิก เพชรบูรณ์
ขั้นตอนที่ 8 การวิเคาะห์ผลลัพการสืบค้น คือ Keyword เที่ยว ภูทับเบิก เพชรบูรณ์ ผลการสืบค้นทั้งหมด ผลการค้นหาประมาณ โพสต์เมื่อ 26 สิงหาคม 2552 เวลา 14:26:28 115,254 อ่าน 43 แสดงความคิดเห็น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น